Total number of page views.

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

study notes time 8

Daily 19/08/2556

Activities

           อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ 

ประมวลภาพกิจกรรม









ส่วนการทดลองวิทยาศาสตร์ของดิฉันคือ "ขวดเป่าลูกโป่ง"





ก๊าซเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นและมีอยู่ได้โดยจับมันไว้ในลูกโป่ง  อย่างการทดลองนี้ไง
สิ่งที่ต้องใช้
·        ขวดแก้วเตี้ย อย่างขวดน้ำส้มสแปลช 1 ขวด
·        ลูกโป่ง 1 ใบ
·        ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
·        น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
·        เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
·        ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
·        เติมน้ำส้มสายชูลงไป
·        ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด
เพราะอะไรกันนะ
            เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้ 
เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง




Study notes time 7

Daily 17/08/2556

Activities
         
          ***การเรียนการสอนครั้งนี้เป็นการเรียนชดเชย เนื่องจากสองอาทิตย์ที่ผ่านมามีการสอบกลางภาค

          อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องเหลือใช้ไปประดิษฐ์ของเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่ม 


study notes time 6

Daily 28/07/2556

Activities
          ***การเรียนการสอนครั้งนี้เป็นการเรียนชดเชยเนื่องจาก วันจันทร์ที่ 22 ก.ค. ตรงกับวัน อาสาฬหบูชา จึงเป็นวันหยุด

           อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์โดยเป็นการสอนให้เพื่อนเล่นเป็นด้วย โดยวันนี้มีของเล่น ดังนี้
1.เลี้ยงลูกบอลด้วยลม
2.ไก่กระต๊าก

3.เฮริคอปเตอร์กระดาษ
4.กังหันลมจิ๋ว

5.สกิตเทิล

6.ลูกข่างกับแผ่นซีดีเก่า

7.เรือพลังงาน

8.คอปเตอร์ไม้ไอติม

9.รถไถจากหลอดด้าย




วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

study notes time 5

Daily  15/07/2556

Activities

         อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์พร้อมสาธิตให้เพื่อนๆดู โดยวันนี้มีเพื่อนออกมานำเสนอของเล่นต่างๆ  ดังต่อไปนี้

1.เลี้ยงลูกบอลด้วยลม
2.กังหันลม
3.ไก่กระต๊าก
4.เครื่องบินแรงดันอากาศ
5.ไปเป้เป่าลม
6.ตุ๊กตาไข่ล้มลุก
7.ปืนขวดน้ำ
8.เรือพลังยาง
9.จานหมุนมีชีวิต
10.กล้องผสมสี
11.ขวดผิวปาก

ของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันคือ บิลโบเก (Bilboquet)

วัสดุและอุปกรณ์
1.ถ้วยโยเกิร์ต
2.จุกไม้ก๊อก หรือ จุกยาง
3.ยางยืดยาว 50 ซม.
4.สิ่งของทีี่ใช้ตกแต่งต่างๆ เช่น กระดาษสี กระดิ่ง ฯลฯ
5.กาว 
6.กรรไกร

วิธีทำ
1.ลอกฉลากข้างถ้วยโยเกิร์ตออกแล้วตกแต่งให้สวยงาม

2.นำยางยืดมาร้อยกับจุกยาง แล้วผูกปมที่ปลายด้านหนึ่ง

3.เจาะรูที่ก้นถ้วยโยเกิร์ตแล้วสอดยางยืดด้านที่ไม่ได้ผูกปมเข้าไป


4.ผูกปมที่ปลายยางยืด แล้วติดเทปกาวทับลงไป


วิธีเล่น
จำนวนผู้เล่น: 1 คนหรือมากกว่า

      ถือถ้วยโยเกิร์ตไว้ ปล่อยให้ปลายยางยืดที่มีจุกยางห้อยลงมา สะบัดข้อมือขึ้นเพื่อให้จุกยางกระดอนเข้าไปอยู่ในถ้วย


รู้ไหมว่า...

      บิลโบเกเกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสในศตวรรศที่ 16 มีการนำมาเล่นในราชสำนักของยุโรปและอาจนำมาเล่นตามท้องถนนด้วย การละเล่นนี้พบได้หลายแห่งทั่วประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น 
ประเทศแม็กซิโก แถบขั้วโลกเหนือ และในหมู่ชาวอินเดียแดงในทวีปอเมริกาเหนือ







study notes time 4

Daily 8/07/56
Activities
กิจกรรมที่ 1
1.อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 2แผ่น

2.พับกระดาษให้มีลักษณะเป็น 8 ช่อง ทั้ง 2 แผ่นตามรูป

3.ตัดกระดาษตามช่องจะได้ทั้งหมด 16 แผ่น เสร็จแล้วเย็บกระดาษด้วยแม็คให้เป็นสมุดเล่มเล็ก

4.วาดรูปต่างๆโดยเริ่มจากตรงด้านมุมล่างขวาไปเรื่อยๆให้มีความต่อเนื่องกัน

: เมื่อเปิดดูด้วยความต่อเนื่อง จะเกิดภาพเคลื่อนไหว

กิจกรรมที่ 2

1.ให้นำกระดาษ 2 แผ่นมาประกอบกัน
2.วาดรูปดอกไม้ 1 รูป
3.วากรูปผีเสื้อลงในอีกด้านของแผ่นให้มีลักษณะเหมือนอยู่บนดอกไม้
4.นำไม้มาสอดใส่กระด่ษทั้งคู่ แล้วหมุนมือไปมา ทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวได้เช่นกัน

กิจกรรมที่ 3
ดู DVD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ




สรุปเนื้อหาได้ดังนี้








Study notes time 3

Daily 1/07/2556

Activities

           อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันสุปเกี่ยวหาที่ได้รับจากสัปดาห์ที่แล้วเป็น mind mapping 



กิจกรรมต่อมาคือ อาจารย์ให้ดู VCD เรื่อง ความลับของแสง



สรุปความรู้ที่ได้จากการดู VCD เรื่องความลับของแสง











วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Study notes time 2

Daily 24/06/2556

Activities

 ปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มในเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์


ภาพการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม

โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1.ความหมายของวิทยาศาสตร์
2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3.พัฒนาการทางสติปัญญา
4.การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล
5.แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งของกลุ่มของดิฉันได้หัวข้อเรื่อง แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สรุปความรู้ที่ได้ในวันนี้
 ความหมายของวิทยาศาสตร์          
            วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากภาษาลาตินว่า Scientia” แปลว่า “ความรู้ทั่วไป” ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างมากที่ใช้ในอดีต (สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ, 2542 : 2-3) เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการค้นพบความรู้มากมายเหมือนในปัจจุบัน  ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีความหมายในลักษณะที่ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของมนุษย์  ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการค้นพบความรู้มากขึ้นและได้พิสูจน์ความรู้ต่างๆ   สิ่งใดเป็นจริงจะได้รับการยอมรับ ส่วนสิ่งใดไม่จริงก็จะถูกปฏิเสธ  ทำให้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น ภพ เลาหไพบูลย์ (2540: 2)  ได้สรุปความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า “วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
           
สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ (2542 : 2-3) ได้ให้ความหมายไว้ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง เป็นความจริง ซึ่งความรู้ดังกล่าวได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือจากการทดลอง โดยเริ่มต้นจากการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดลองอย่างมีแบบแผน แล้วจึงสรุปเป็นทฤษฏีหรือกฎขึ้น แล้วนำแล้วนำทฤษฏีหรือกฎที่ได้ไปใช้ศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ
             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ”
             โดยสรุป “วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”


ความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์
        วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในชีวิตของเรา เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง  ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงานเหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้  วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge-based
society)
ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

พัฒนาการด้านสติปัญญา
ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
             - เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ สามารถที่จะใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของวัตถุ
และสถานที่ได้ มีทักษะการใช้ภาษาอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ สามารถที่จะอธิบายประสบการณ์ของตนได้ ดังนั้นควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสออกมาหน้าชั้น เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง แต่ครูควรจะพยายามส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน
             - เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้าง
จินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ ถ้าครูจะส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดประดิษฐ์ในการเล่าเรื่อง หรือการวาดภาพ ก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็ก แต่บางครั้งเด็กอาจจะไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้างจากความคิดคำนึงจากความจริง ครูจะต้องพยายามช่วย แต่ไม่ควรจะใช้การลงโทษเด็กว่าไม่พูดความจริง เพราะจะทำให้เป็นการทำลายความคิดคำนึงของเด็กโดยทางอ้อม
        -เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณา
หลาย ๆ อย่างผสม ๆ กัน เด็กจะไม่สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ อย่างปนกัน ยกตัวอย่างการแบ่งกลุ่มของวัตถุที่มีรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ กัน เช่น สามเหลี่ยม วงกลม ฯลฯ จะต้องแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่มเดียวกัน ถ้าผู้ใหญ่จะรวมวงกลมและสามเหลี่ยมผสมกัน โดยยึดสีเดียวกันเป็นเกณฑ์ เด็กวัยนี้จะไม่เห็นด้วย
             -ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาว ยังค่อนข้างสับสน เด็กยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร ความสามารถในการจัดลำดับ การตัดสินใจของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้ ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล ครูที่สอนเด็กในวัยนี้จะสามารถช่วยเด็กให้มีพัฒนาการทางสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กมี สมรรถภาพ โดยพยายามเปิดโอกาสให้เด็กวัยนี้มีประสบการณ์ค้นคว้าสำรวจสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับครู และเพื่อนในวัยเดียวกัน และพยายามให้ข้อมูลย้อนกลับเวลาที่เด็กทำถูกหรือประสบผลสำเร็จ และพยายามตั้งความคาดหวัง



 การปรับตัว (Adaptation)
หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ

         1. การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)
        เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะ ซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม

       2.การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)
       หมายถึง การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา




...
รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก การไตร่ตรอง
        >> ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มี อิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium) ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
   

      >> สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวน การสำคัญ 2 อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation)
>> เพียเจต์กล่าวว่า ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดัง

 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 เกรก (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ 5 ประการคือ
1.การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรให้เด็กแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
2.ความแตกต่าง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆโดยอาศัยกสรสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
3.การปรับตัว ทุกสิ่งทุกอย่างมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเอง
4.การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกต้องพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกจะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืนกัน

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


นักศึกษาดู VCD เกี่ยวกับ เรื่องสนุกกับอากาศมหัศจรรย์

เรื่อง สนุกกับอากาศมหัศจรรย์ 
มีเนื้อหาเกี่ยวกับหนู ๆ ทั้งหลายจ๊ะ “อากาศ” อาจเป็นเรื่องธรรมด๊าธรรมดา ที่หนู ๆ ทั้งหลายต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดีแต่หนู ๆ รู้มั้ยเอ่ย? ว่า      ลมเกิดจากอะไรน้า  ถ้าเครื่องยินไม่มีปีกจะบินได้หรือเปล่า แล้วทำไมเราต้องพ่นไฟเข้าไปในบอลลูนด้วยล่ะ หรือ แม้แต่ทำไมเวลาที่ลมพัดมา เราถึงรู้สึกเย็นสบายและอีกสารพัดความลี้ลับน่ารู้เกี่ยวกับ “อากาศ”
      ถ้าอยากรู้ล่ะก็ “เทรี่” กับ “หมีจ๋า” จะพาหนู ๆ ทั้งหลายไปไขความลับที่น่ามหัศจรรย์ของ “อากาศ” ด้วยวิธีการทดลองอันแสนสนุกและเข้าใจง้ายง่าย จะรู้ว่า แม้แต่การดูดนมแสนอร่อยที่หนู ๆ โปรดปราณ ก็ยังเกี่ยวข้องกับอากาศนะจ๊ะ